บริการแปลเอกสาร และรับรองเอกสารภาษาจีน โดยทีมงานมืออาชีพเจ้าของภาษา
ภาษาจีน (汉语 - 漢語 - Hànyǔ - ฮั่นอวี่, 华语 - 華語 - Huáyǔ - หัวอวี่ หรือ 中文 - Zhōngwén - จงเหวิน) เป็นหนึ่งในตระกูลภาษาจีน-ทิเบต ชาวจีนส่วนใหญ่ถือภาษาจีนพูดชนิดต่าง ๆ ว่าเป็นภาษาเดียว โดยทั่วไปแล้ว ภาษาพูดในกลุ่มภาษาจีนเป็นภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์และไม่อ่านเนื่องเสียง อย่างไรก็ดี ยังมีความแตกต่างกันในภาษาพูดแต่ละภาษาอยู่มาก ความต่างเหล่านี้เทียบได้กับ ความแตกต่างระหว่างภาษาของภาษากลุ่มโรมานซ์ เราอาจแบ่งภาษาพูดของจีนได้ 6 ถึง 12 กลุ่ม ขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่ใช้ในการแบ่ง ที่เป็นที่รู้จักดี เช่น กลุ่มแมนดาริน กลุ่มหวู และกลุ่มกวางตุ้ง ยังเป็นที่โต้เถียงกันถึงปัจจุบันว่าภาษาพูดบางกลุ่มควรจัดเป็น "ภาษา" หรือเป็นแค่ "สำเนียง" ประชากรประมาณ 1/5 ของโลกพูดภาษาจีนแบบใดแบบหนึ่งเป็นภาษาแม่ ทำให้เป็นภาษาที่มีคนพูดเป็นภาษาแม่มากที่สุด สำเนียงพูดที่ถือเป็นมาตรฐาน คือ สำเนียงปักกิ่ง หรือ ภาษาฮั่น ซึ่งอยู่ในกลุ่มภาษาแมนดาริน ภาษาจีนกลาง หรือ ภาษาจีนแมนดาริน (Standard Mandarin) เป็นภาษาทางการของสาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐจีนหรือไต้หวัน เป็นหนึ่งในภาษาทางการ 4 ภาษาทางการของประเทศสิงคโปร์ (ร่วมกับ ภาษาอังกฤษ ภาษามลายู และภาษาทมิฬ) และเป็นหนึ่งใน 6 ภาษาที่ใช้ในองค์การสหประชาชาติ (ร่วมกับ ภาษาอังกฤษ ภาษาอาหรับ ภาษาฝรั่งเศส ภาษารัสเซีย และภาษาสเปน) ภาษาจีนกวางตุ้ง เป็นภาษาทางการของ ฮ่องกง (ร่วมกับภาษาอังกฤษ) และมาเก๊า (ร่วมกับภาษาโปรตุเกส) นอกจากนี้ ภาษาเขียนยังได้เปลี่ยนแปลงตามระยะเวลา แต่การเปลี่ยนแปลงของภาษาเขียน ช้ากว่าการเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดอย่างมาก จึงไม่ถูกจำกัดโดยความเปลี่ยนแปลงของภาษาพูดโดยส่วนใหญ่ ในปัจจุบัน ภาษาจีนใช้อักษรมาตรฐาน 2 รูปแบบทั่วโลก ได้แก่ อักษรจีนตัวเต็ม และ อักษรจีนตัวย่อ
ภาษาพูดของจีน : แผนที่ด้านขวาแสดงพื้นที่ที่มีประชาชนพูด ทั้งภาษาและสำเนียงภาษาจีนต่างกันในประเทศจีน โดยพื้นฐาน เราอาจแบ่งกลุ่มภาษาจีนออกเป็น 7 กลุ่มใหญ่ ๆ ตามจำนวนประชากรที่พูดได้ ดังนี้
- จีนกลาง หรือ ภาษาฮั่น หรือ แมนดาริน (จีนตัวเต็ม: 官話, จีนตัวย่อ: 官话, พินอิน: Guānhuà กวานฮว่า, คำแปล: ภาษาทางการ) หรือ สำเนียงทางเหนือ (จีน: 北方方言, พินอิน:Běifāngfāngyán เป่ยฟังฟังเอี๋ยน)
- ง่อ (จีนตัวเต็ม: 吳方言, จีนตัวย่อ: 吴方言, พินอิน: Wú fāng yán อู๋ฟางเอี๋ยน, คำแปล: สำเนียงอู๋) หรือ (จีนตัวเต็ม: 吳語, จีนตัวย่อ: 吴语, พินอิน: wú yǔ อู๋อวี่, คำแปล: ภาษาอู๋) ในมณฑลเจียงซู
- กวางตุ้ง (จีนตัวเต็ม: 粵語, จีนตัวย่อ: 粤语, พินอิน: Yue yǔ เยว้-อวี่, คำแปล: ภาษากวางตุ้ง)
- ฮกเกี้ยน หรือ หมิ่น (จีนตัวเต็ม: 閩方言, จีนตัวย่อ: 闽方言, พินอิน: Mǐnfāngyán หมิ่นฟางเอี๋ยน, คำแปล: สำเนียงหมิ่น) ในมณฑลฝูเจี้ยนหรือฮกเกี้ยน
- เซียง (จีนตัวเต็ม: 湘語, จีนตัวย่อ: 湘语, พินอิน: Xīang yǔ เซียงอวี่, คำแปล: ภาษาในมณฑลหูหนาน)
- แคะ (จีนตัวเต็ม: 客家話, จีนตัวย่อ: 客家话, พินอิน: Kèjiāhuà เค้อเจียฮว่า, คำแปล: ภาษาแคะ) หรือ ฮักกา
- กั้น (จีนตัวเต็ม: 贛語, จีนตัวย่อ: 赣语 กั้นอวี่, คำแปล: ภาษามณฑลเจียงสี)
- จิ้น (จีนตัวเต็ม: 晉語, จีนตัวย่อ: 晋语, พินอิน: Jìnyǔ จิ้นอวี่) แยกมาจาก แมนดาริน
- ฮุย (จีนตัวเต็ม: 徽語, จีนตัวย่อ: 徽语, พินอิน: Huīyǔ ฮุยอวี่) หรือ (จีนตัวเต็ม: 徽州話, จีนตัวย่อ: 徽州话, พินอิน: Huīzhōuhuà ฮุยโจวฮว่า) แยกมาจาก อู๋
- ผิง (จีนตัวเต็ม: 平話, จีนตัวย่อ: 平话 , พินอิน: Ping yǔ ผิงอวี่) แยกมาจาก กวางตุ้ง
สถาบันแปลภาษา iTS (i Translation Services)
เรามีบริการแปลภาษาจีนเป็นภาษาอื่นๆ ดังนี้
เรามีบริการแปลภาษาจีนเป็นภาษาอื่นๆ ดังนี้
|
|
นอกจากนั้นเรายังมีบริการแปลเอกสารราชการภาษาไทย เป็นภาษาจีน
และเอกสารอื่น ๆ ทุกประเภท ตามรายละเอียดดังนี้
และเอกสารอื่น ๆ ทุกประเภท ตามรายละเอียดดังนี้
ประเภทเอกสารราชการ
ประเภทเอกสารทางการศึกษา
ประเภทเอกสารทางกฎหมาย
|
ประเภทเอกสารยื่นขอวีซ่า
ประเภทเอกสารวิชาการ
ประเภทเอกสารอื่นๆ
|
.
.
ภาษาจีนมาตรฐาน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาจีนมาตรฐาน (อังกฤษ: Standard Chinese) หรือ ผู่ทงฮฺว่า (จีน: 普通话/普通話; พินอิน: Pǔtōnghuà; "ภาษาสามัญ") เป็นภาษามาตรฐานซึ่งเป็นภาษาราชการเพียงหนึ่งเดียวของทั้งประเทศจีนและประเทศไต้หวัน ทั้งยังเป็นหนึ่งในภาษาราชการทั้งสี่ของประเทศสิงคโปร์ ภาษาจีนมาตรฐานออกเสียงตามสำเนียงเป่ย์จิง (北京話) ใช้คำศัพท์ตามสำเนียงกลาง และใช้ไวยากรณ์ตามภาษาจีนที่ใช้เขียนในชีวิตประจำวัน (written vernacular Chinese) ภาษาจีนมาตรฐานมีวรรณยุกต์เช่นเดียวกับภาษาจีนแบบอื่น ๆ เมื่อเทียบกับภาษาจีนที่ใช้ในตอนใต้แล้ว ภาษาจีนมาตรฐานมีพยัญชนะต้นมากกว่า แต่มีสระ พยัญชนะท้าย และวรรณยุกต์ น้อยกว่า นอกจากนี้ ภาษาจีนมาตรฐานยังเน้นหัวเรื่อง (topic-prominent) และเรียงประโยคแบบประธาน-กริยา-กรรม ภาษาจีนมาตรฐานนั้นใช้อักษรแบบเต็มหรือแบบย่อเขียนก็ได้ ส่วนการถอดเป็นอักษรโรมันนั้นใช้อักษรพินอินแบบฮั่น
ภาษาจีนกลาง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาจีนกลาง เป็นคำที่คนไทยใช้เรียกภาษาหลักของจีน ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เรียกภาษานี้ว่า ฮวา-ยวี่ (อักษรจีน: 华语/華語) แปลว่าภาษาฮวา ซึ่งคำว่า ฮวา หรือ ฮวาเยริน (อักษรจีน: 华人/華人) เป็นคำที่ชาวจีนใช้เรียกตัวเองในปัจจุบัน สำหรับประเทศจีนจะเรียกภาษานี้ว่า ฮั่นยวี่ (อักษรจีน: 汉语/漢語) แปลว่า ภาษาฮั่น อันป็นภาษาของชาวฮั่น ภาษาอังกฤษเรียกภาษานี้ว่า Mandarin (แมนดาริน) ซึ่งมีรากจากคำในภาษาโปรตุเกสว่า Mandarim (มันดาริม), จากคำในภาษามลายูว่า Menteri (เมินเตอรี), และจากคำในภาษาสันสกฤตว่า Mantrin (มันตริน) หรือเทียบตรงกับคำไทยว่า มนตรี และคำว่า กว่านฮว่า (อักษรจีน: 官话/官話) กว่าน (อักษรจีน: 官) แปลว่าราชสำนักและ ฮว่า (อักษรจีน: 话/話) แปลว่าพูด เป็นชื่อโบราณที่ใช้เรียกภาษานี้ ปัจจุบันใช้ในเชิงวิชาการเพื่อแยกว่าไม่ใช่ภาษาจีนกลุ่มอื่นเช่น ภาษาแต้จิ๋ว, ภาษาฮกเกี้ยน, ภาษากวางตุ้ง เป็นต้น ในวงแคบคำว่า ภาษาจีนกลาง ในทางภาษาจีนกลางเองเรียก ผู่ทงฮว่า (普通话) หมายถึงภาษาจีนกลางมาตรฐานที่ใช้ในประเทศจีน และ กว๋ออวี่ (國語) หมายถึงภาษาจีนกลางมาตรฐานที่ใช้ในประเทศไต้หวันและใช้เป็นภาษากลางในกลุ่มจีนโพ้นทะเลในประเทศมาเลเซีย, สิงค์โปร์ เป็นต้น ในวงกว้างคำว่า เป่ยฟางฮว่า (北方話; "ภาษาพูดทางเหนือ") คือคำประเภทที่ประกอบด้วยภาษาย่อยต่าง ๆ ของภาษาจีนที่ใช้ในทางตอนเหนือและตะวันตกเฉียงใต้ของจีน ซึ่งความหมายนี้มักจะพบในบริบททางวิชาการ และจะใช้ความหมายนี้ในบทความนี้ โดยที่ผู่ทงฮว่าและกั๋วอวี่ จะใช้ชื่อจีนเรียก รวมถึงใช้ "ภาษาจีนกลางมาตรฐาน" และ "ภาษาจีนมาตรฐาน" เรียกภาษาประเภทเป่ยฟางฮว่ามีคนพูดมากกว่าภาษาอื่น ๆ และเป่ยฟางฮว่าก็เป็นพื้นฐานของผู่ทงฮว่าและกั่วอวี่ด้วย อย่างไรก็ดี เป็นที่น่าสังเกตว่า เป่ยฟางฮว่าครอบคลุมภาษาย่อยจำนวนมากที่ไม่สามารถเข้าใจกันได้ นอกจากนี้ แนวคิดเป่ยฟางฮว่าส่วนใหญ่ ไม่ใช้นอกวงการวิชาการเป็นคำที่ใช้อธิบายตัวเอง เมื่อให้อธิบายชนิดของภาษาพูดที่ใช้ คนจีนที่พูดชนิดของเป่ยฟางฮว่าจะอธิบายตามชนิดของภาษาที่ใช้ เช่น ภาษาเสฉวนหรือภาษาจีนตะวันออกเฉียงเหนือ ชาวจีนมักจะถือชนิดของภาษาจีนกลางที่พูด เป็นส่วนหนึ่งของการระบุมณฑลที่อาศัยอยู่ อย่างไรก็ดี แทบจะไม่มีอะไรที่สามารถระบุได้โดยทั่วไป เกี่ยวกับแนวคิดของภาษาพูดทางเหนือ เหมือนกับภาษาอื่น ๆ การจัดภาษาจีนกลางเป็นภาษาเดียวหรือเป็นภาษาย่อย ยังคงเป็นเรื่องที่ถกเถียงกันอยู่ หมายเหตุ: ภาษาจีนกลางชนิดที่เป็นมาตรฐานเรียกว่า ผู่ทงฮว่า (Putonghua, 普通话) และ กั๋วอวี่ (Guoyu, 國語) แต่มักจะเรียกรวม ๆ ในภาษาอังกฤษว่า Mandarin, คำว่า "ผู่ทงฮว่า" ในภาษาอังกฤษเรียกแบบเต็ม ว่า Standard Chinese หรือ Standard Mandarin และ "กั๋วอวี่" เรียกว่า Standard Taiwanese Mandarin
Chinese (simplified Chinese: 汉语; traditional Chinese: 漢語; pinyin: Hànyǔ[b] or also 中文; Zhōngwén,[c] especially for the written language) is a group of languages that form the Sinitic branch of the Sino-Tibetan languages, spoken by the ethnic Han Chinese majority and many minority ethnic groups in Greater China. About 1.3 billion people (or approximately 16% of the world's population) speak a variety of Chinese as their first language.[3] The spoken varieties of Chinese are usually considered by native speakers to be variants of a single language. Due to their lack of mutual intelligibility, however, they are classified as separate languages in a family by linguists, who note that the varieties are as divergent as the Romance languages.[d] Investigation of the historical relationships among the varieties of Chinese is just starting. Currently, most classifications posit 7 to 13 main regional groups based on phonetic developments from Middle Chinese, of which the most spoken by far is Mandarin (with about 800 million speakers, or 66%), followed by Min (75 million, e.g. Southern Min), Wu (74 million, e.g. Shanghainese), and Yue (68 million, e.g. Cantonese).[5] These branches are unintelligible to each other, and many of their subgroups are unintelligible with the other varieties within the same branch (e.g. Southern Min). There are, however, transitional areas where varieties from different branches share enough features for some limited intelligibility, including New Xiang with Southwest Mandarin, Xuanzhou Wu with Lower Yangtze Mandarin, Jin with Central Plains Mandarin and certain divergent dialects of Hakka with Gan (though these are unintelligible with mainstream Hakka). All varieties of Chinese are tonal to at least some degree, and are largely analytic. The earliest Chinese written records are Shang dynasty-era oracle bone inscriptions, which can be dated to 1250 BCE. The phonetic categories of Old Chinese can be reconstructed from the rhymes of ancient poetry. During the Northern and Southern dynasties period, Middle Chinese went through several sound changes and split into several varieties following prolonged geographic and political separation. Qieyun, a rime dictionary, recorded a compromise between the pronunciations of different regions. The royal courts of the Ming and early Qing dynasties operated using a koiné language (Guanhua) based on Nanjing dialect of Lower Yangtze Mandarin. Standard Chinese (Standard Mandarin), based on the Beijing dialect of Mandarin, was adopted in the 1930s and is now an official language of both the People's Republic of China and the Republic of China (Taiwan), one of the four official languages of Singapore, and one of the six official languages of the United Nations. The written form, using the logograms known as Chinese characters, is shared by literate speakers of mutually unintelligible dialects. Since the 1950s, simplified Chinese characters have been promoted for use by the government of the People's Republic of China, while Singapore officially adopted simplified characters in 1976. Traditional characters remain in use in Taiwan, Hong Kong, Macau, and other countries with significant overseas Chinese speaking communities such as Malaysia (which although adopted simplified characters as the de facto standard in the 1980s, traditional characters still remain in widespread use).
.
ประเทศจีน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนตัวย่อ: 中华人民共和国; จีนตัวเต็ม: 中華人民共和國; พินอิน: Zhōnghuá Rénmín Gònghéguó; อังกฤษ: People's Republic of China (PRC)) เป็นรัฐเอกราชในเอเชียตะวันออก เป็นประเทศที่มีประชากรมากที่สุดในโลก กว่า 1,400 ล้านคน เป็นรัฐพรรคการเมืองเดียวปกครองโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน มีเมืองหลวงอยู่ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนแบ่งการปกครองออกเป็น 22 มณฑล (ไม่รวมพื้นที่พิพาทไต้หวัน), 5 เขตปกครองตนเอง, 4 เทศบาลนคร (ปักกิ่ง เทียนจิน เซี่ยงไฮ้ และฉงชิ่ง), และ 2 เขตบริหารพิเศษ ได้แก่ฮ่องกงและมาเก๊า ประเทศจีนมีพื้นที่ 9.6 ล้านตารางกิโลเมตร นับเป็นประเทศที่มีพื้นที่ทั้งหมดใหญ่ที่สุดในโลกเป็นอันดับ 3 หรือ 4 แล้วแต่วิธีการวัด ลักษณะภูมิประเทศของจีนมีความหลากหลาย ตั้งแต่ป่าสเต็ปป์และทะเลทรายในพื้นที่แห้งแล้งทางตอนเหนือของประเทศติดกับประเทศมองโกเลียและไซบีเรียของรัสเซีย และป่าฝนกึ่งโซนร้อนในพื้นที่ชื้นทางใต้ซึ่งติดกับเวียดนาม ลาว และพม่า ส่วนภูมิประเทศทางตะวันตกนั้นขรุขระและเป็นที่สูง โดยมีเทือกเขาหิมาลัยและเทือกเขาเทียนชานกั้นเป็นพรมแดนตามธรรมชาติกับประเทศอินเดีย เนปาล และเอเชียกลาง ในทางตรงกันข้าม แนวชายฝั่งด้านตะวันออกของจีนแผ่นดินใหญ่นั้นเป็นที่ราบต่ำ และมีแนวชายฝั่งยาว 14,500 กิโลเมตร (ยาวที่สุดเป็นอันดับที่ 11 ของโลก) ซึ่งติดต่อกับทะเลจีนใต้ทางใต้ และทะเลจีนตะวันออกทางตะวันออก นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เป็นเกาะอยู่ใกล้เคียง ได้แก่ เกาหลี และญี่ปุ่น อารยธรรมจีนโบราณ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งอารยธรรมยุคแรกเริ่มของโลก เจริญรุ่งเรืองในลุ่มแม่น้ำเหลืองอันอุดมสมบูรณ์ ซึ่งไหลผ่านที่ราบลุ่มจีนเหนือ[14] จีนยึดระบบการเมืองแบบราชาธิปไตยหลายสหัสวรรษ จีนรวมกันเป็นปึกแผ่นครั้งแรกในสมัยราชวงศ์ฉินเมื่อ 221 ปีก่อนคริสตกาล ส่วนราชวงศ์สุดท้าย ราชวงศ์ชิง สิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1912 ด้วยการสละราชสมบัติของจักรพรรดิผู่อี๋ พร้อมกันกับการสถาปนาสาธารณรัฐจีนโดยพรรคก๊กมินตั๋ง พรรคชาตินิยมจีน ในวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1912 ครึ่งแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 20 นั้น เป็นยุคสมัยแห่งความแตกแยกและสงครามกลางเมืองซึ่งแบ่งประเทศออกเป็นค่ายการเมืองสองค่ายหลักคือ ก๊กมินตั๋งและคอมมิวนิสต์ ความเป็นปฏิปักษ์ส่วนใหญ่สิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 1949 เมื่อฝ่ายคอมมิวนิสต์ชนะสงครามกลางเมือง และสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีนขึ้นในจีนแผ่นดินใหญ่ ส่วนสาธารณรัฐจีน ซึ่งอยู่ภายใต้การนำของก๊กมินตั๋งนั้น ได้ย้ายเมืองหลวงไปยังไทเปบนเกาะไต้หวัน นับแต่นั้นมา สาธารณรัฐประชาชนจีนได้เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องในความขัดแย้งทางการเมือง กับสาธารณรัฐจีนเหนือปัญหาอธิปไตยและสถานะทางการเมืองของไต้หวัน นับตั้งแต่การปฏิรูปเศรษฐกิจซึ่งมีพื้นฐานอยู่บนตลาดเมื่อปี ค.ศ. 1978 ประเทศจีนได้กลายมาเป็นหนึ่งในเศรษฐกิจสำคัญที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก[15] โดยเป็นผู้ส่งออกสินค้ารายใหญ่ที่สุดของโลก และเป็นผู้นำเข้าสินค้ารายใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ของโลก และเป็นเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับที่ 2 ของโลกทั้งในด้านผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศราคาตลาดและความเท่าเทียมของอำนาจซื้อ[16] ตลอดจนเป็นสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ประเทศจีนได้รับการจัดให้เป็นรัฐอาวุธนิวเคลียร์และมีกองทัพขนาดใหญ่ที่สุดในโลกซึ่งมีค่าใช้จ่ายด้านกลาโหมมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก ประเทศจีนถูกจัดว่ามีศักยภาพที่จะก้าวขึ้นมาเป็นอภิมหาอำนาจของโลกโดยนักวิเคราะห์วิชาการ[17] นักวิเคราะห์การทหาร[18] ตลอดจนนักวิเคราะห์นโยบายสาธารณะและเศรษฐกิจ
.